• Email :
  • info@eartone.com

หูและการได้ยิน

การได้ยินเสื่อมลงคืออะไร

โดย นพ. ทวีเกียรติ ธรรมจารยกุล

การได้ยินเสื่อมลง

การได้ยินเสื่อมลงคือการที่เราได้ยินน้อยลง โดยทั่วไปเรามักใช้คำว่า หูตึง หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด บางคำได้ยินบางคำไม่ได้ยิน ถ้าเป็นมากอาจจะเรียกหูหนวกหรือหูดับ คือไม่ได้ยินเลย

สาเหตุที่ได้ยินไม่ชัด

ผู้ที่ได้ยินคำพูดบางคำไม่ชัดหรือต้องให้ผู้อื่นพูดซ้ำๆ มักเกิดจากประสาทหูเสื่อม เสื่อมเล็กน้อยหรือปานกลาง และส่วนมากมักจะมีประสาทหูเสื่อมที่ความถี่สูงซึ่งทำให้รับเสียงคำพูดบางคำหรือเสียงแหลมไม่ชัด เช่น เสียงนกหวีด เสียงเด็กเล็ก เสียงริงโทนโทรศัพท์มือถือ หรือเสียงนกร้อง อีกทั้งแยกแยะคำพูดในที่ที่มีเสียงรบกวนได้ด้อยกว่าคนปรกติ เช่น ในร้านอาหารหรือห้างสรรพสินค้า หรือในห้องประชุมที่กว้างๆ

สาเหตุประสาทหูเสื่อม

ประสาทหูเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการอักเสบติดเชื้อ จากโรคหูน้ำหนวก โรคคางทูม จากการรับเสียงดังเกินไปเป็นเวลานาน เช่น ทำงานกับเครื่องจักรที่มีเสียงดังโดยไม่ใส่ที่อุดหูกันเสียง แต่สาเหตุที่พบมากที่สุดคือเสื่อมตามวัยในผู้สูงอายุ

ชนิดของการได้ยินเสื่อม

การได้ยินที่เสื่อมลงแบ่งได้เป็น 3 ชนิด

  1. การนำเสียงเข้าสู่หูชั้นในด้อยลง (Conductive hearing loss) เช่น มีขี้หูอุดตันที่รูหู แก้วหูทะลุ ขยายเสียงได้น้อยลง หรือกระดูกหูชั้นกลางขยับไม่ดีหรือขาดหายไป หรือมีของเหลวเช่น หนอง น้ำเหลือง ค้างอยู่ในหูชั้นกลาง
  2. ประสาทหูชั้นในเสื่อม (Sensoreneural hearing loss) ประสาทเซลล์ขนในหูชั้นในเสื่อมลงหรือเสียงไม่สามารถผ่านเส้นประสาทเส้นที่ 8 ได้ เช่น เป็นเนื้องอก
  3. เสื่อมแบบผสมคือ แบบที่หนึ่งรวมกับแบบที่สอง (Mixed Hearing Loss)

ในผู้สูงอายุมักจะมีประสาทหูเสื่อมในย่านความถี่สูงมากกว่าความถี่ต่ำ ทำให้รับเสียงสูงได้ไม่ชัด เช่น เสียงนก เสียงเด็กเล็ก หรือเสียงผู้หญิง ด้วยเทคโนโลยีย้ายความถี่โดยเคลื่อนย้ายเสียงความถี่สูงไปรับด้วยประสาทหูย่านความถี่ที่ต่ำกว่าซึ่งรับเสียงได้ดีอยู่ (Sound Recover) ผู้ใช้ต้องใช้เวลาฝึกการฟังนานเป็นเดือนถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด

ปัญหาที่ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังไม่ชอบคือเสียงรบกวน เมื่อได้ยินเสียงพูดเบา ผู้ใช้มักจะปรับระดับรับเสียงให้ดังขึ้น แต่เสียงทุกเสียงจะถูกปรับดังขึ้นด้วย รวมทั้งเสียงรบกวนรอบข้าง แต่ด้วย Flex Control ซึ่งจะเพิ่มความดังของเสียงพูดซึ่งอยู่ในช่วงความถี่ 500-3,000 Hz แล้วลดเสียงจอแจและเสียงรบกวนซึ่งอยู่นอกช่วงความถี่นี้ลง

ไมโครโฟนไร้สาย (MyPAL) ใช้ในกรณีที่ผู้ใส่เครื่องช่วยฟังแล้วยังได้ยินไม่ชัด อาจจะช่วยได้โดยพูดผ่านไมโครโฟนไร้สายแล้วส่งสัญญาณเข้าเครื่องช่วยฟังโดยตรง โดยที่ตัวเครื่องช่วยฟังมีเสาอากาศรับสัญญาณคลื่นความถี่ 2.4 GHz และสามารถรับจากไมค์ลอยได้ถึงสามตัว

แก้ใขได้อย่างไร

ประสาทหูที่เสื่อมแล้วไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือผ่าตัด แต่สามารถช่วยให้ได้ยินดีขึ้นโดยการรับเสียงจากผู้พูดผ่านไมโครโฟน แล้วขยายให้ดังขึ้นด้วยตัวขยายเสียง เสียงที่ถูกขยายแล้วถูกปล่อยออกผ่านลำโพงเข้าหูผู้ฟังเหมือนเครื่องขยายเสียง เครื่องที่ดีมีคุณภาพสูงจะไม่ทำให้เสียงที่ถูกขยายแล้วผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียง ปัญหาที่ผู้ใช้เครื่องช่วยฟังครั้งแรกแล้วไม่ชอบมีหลายสาเหตุ เช่น มักมีเสียงวีดๆ ที่ลอดจากเครื่อง เครื่องเล็กที่ใส่ในรูหูทำให้อึดอัดในรูหูเพราะช่องรูหูระบายอากาศเข้าออกไม่ได้ ได้ยินเสียงพูดของตนเองก้องเพราะวัสดุที่ใส่ในรูหูนำเสียงผ่านกะโหลกได้มากขึ้น ปํญหาเหล่านี้จะลดน้อยลงเมื่อใช้เครื่องในช่องหูที่ได้รับการออกแบบให้มีช่องระบายลมที่เหมาะสม หรือใส่เครื่องช่วยฟังแบบที่มีไมโครโฟนสอดในรูหูและมีจุกซิลิโคนที่มีรูระบายลม

ดาวน์โหลดแผ่นพับเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง

Image
Image
Image
Image
eartone-logo-bottom.png


ศูนย์บริการข้อมูลเครื่องช่วยฟัง

โทร 02-712-1177

02-713-6232

085-357-8777

ทดสอบการได้ยิน

hearing test icon 01

คุณหูตึงหรือไม่ เชิญทดสอบได้ฟรี โดยดาวน์โหลด Eartone App ใน iPhone หรือ Android (Samsung)

Search