• Email :
  • info@eartone.com

หูและการได้ยิน

หูอื้อ

โดย นพ. มานัต อุทุมพฤกษ์พร

 

หูอื้อเป็นคำที่คนไข้มักจะใช้เมื่อมาพบแพทย์ แต่กลับเป็นอาการที่แพทย์วินิจจัยได้ยากสุด ความหมายของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจหมายถึงการได้ยินที่ลดลง บางคนตรวจพบว่าได้ยินปกติแต่บอกว่าอื้อ ซึ่งอาจหมายถึงอาการแน่นๆ ในหูหรือได้ยินเหมือนเสียงลมในหู ดังนั้นสิ่งแรกที่แพทย์ต้องประเมินคือการได้ยินอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ โดยจะเคาะส้อมเสียงที่มีความถี่ 512 Hz หรือ 1024 Hz ความดังมาก-น้อยแล้วแต่แรงเคาะ แล้วให้คนไข้ฟัง ซึ่งพอจะบอกได้คร่าวๆ ว่าได้ยินปกติหรือไม่ที่ความถี่นี้ แต่ไม่ได้บอกถึงความถี่อื่นๆ เราสามารถทดสอบการได้ยินแบบง่ายๆ ด้วยตัวเองด้วยโทรศัพท์มือถือ เหมือนฟังแพลงในที่เงียบๆ โดยดาวน์โหลดโปรแกรมทดสอบนี้ฟรีได้จาก iPhone หรือ Android (Samsung) และทำตามคำแนะนำ

หูอื้อแบบต่างๆ

  1. หูอื้อแบบแน่นในหู โดยการได้ยินปรกติ อาจบ่งบอกถึงการระบายลมของท่อระบายลมหูชั้นกลางอุดตันชั่วคราว เช่น เวลาลงจากเครื่องบินใหม่ๆ หรือในช่วงที่เป็นหวัดแน่นจมูก โดยที่ประสาทหูยังได้ยินปรกติ
  2. หูอื้อเนื่องจากมีขี้หูหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม กระดาษทิชชู คอตตอนบัด อุดรูหู หรือน้ำเข้าหูหลังอาบน้ำ จะทำให้ได้ยินน้อยลงชั่วคราว บางครั้งอาจได้ยินเสียงรบกวนในหู ซึ่งเป็นเหตุให้หูอื้อแบบได้ยินลดลง ถ้าพบสิ่งเหล่านี้ แพทย์ต้องเอาออกและทำความสะอาด
  3. หูอื้อเนื่องจากแก้วหูทะลุ แก้วหูเป็นตัวนำเสียงและขยายเสียงที่ผ่านเข้ารูหู แก้วหูที่ทะลุจะนำเสียงและขยายเสียงได้น้อยลงเหมือนหนังกลองที่ทะลุ ทำให้รู้สึกหูอื้อแบบได้ยินลดลงโดยที่ประสาทหูปกติ ถ้าหากน้ำเข้าหูจะทำให้เกิดการอักเสบที่หูชั้นกลางที่เรียกว่า หูน้ำหนวก ซึ่งมีโอกาสทำให้ประสาทหูเสื่อมได้ จึงจำเป็นต้องรักษาให้หายอักเสบแล้วผ่าตัดใส่แก้วหูใหม่
  4. หูอื้อเนื่องจากมีของเหลวค้างอยู่ในหูชั้นกลาง โดยที่หูชั้นนอกคือรูหูปรกติ ของเหลวนี้อาจเป็นน้ำเหลืองหรือน้ำหนอง ค้างอยู่ในหูชั้นกลางหลังแก้วหู ของเหลวนี้จะทำให้เสียงผ่านได้น้อยลง ทำให้มีอาการหูอื้อแบบได้ยินลดลง ลักษณะเช่นนี้จะพบบ่อยในเด็กที่เป็นหวัดหรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน จมูก ไซนัส และนาโซฟาริงส์ (โพรงหลังจมูกส่วนบน) เด็กมักมีอาการปวดในขณะที่มีการอักเสบ หลังจากนั้นจะเกิดเป็นน้ำเหลืองหรือน้ำหนองค้างอยู่ในหูชั้นกลาง ในระยะที่มีการอักเสบ แพทย์จะต้องให้ทำการรักษา ถ้าหากมีของเหลวค้างในหูชั้นกลางนานเกินไป อาจจะต้องเจาะแก้วหูเพื่อดูดออกแล้วใส่ท่อเล็กๆ เพื่อระบายออก
    ในผู้ใหญ่ถ้ามีอาการหูอื้อจากน้ำเหลืองค้างในหูชั้นกลาง อาจเกิดจากมะเร็งนาโซฟาริงส์ (โพรงหลังจมูกส่วนบน) ไปอุดตันท่อระบายลมของหูชั้นกลาง เกิดเป็นน้ำเหลืองในหูชั้นกลาง พบได้บ่อยโดยเฉพาะคนไทยเชื้อสายจีน แพทย์จะต้องส่องกล้องดูว่ามีมะเร็งนาโซฟาริงส์ (โพรงหลังจมูกส่วนบน) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  5. หูอื้อได้ยินลดลงเนื่องจากประสาทหูเสื่อม เป็นหูอื้อที่ตรวจพบมากสุด พบว่ามีการได้ยินลดลงหรือเรียกว่าหูตึง ซึ่งเป็นคำบอกถึงประสาทหูเสื่อม ในคนหูปรกติจะได้ยินแม้เสียงเบาๆ แต่ถ้าต้องใช้ความดังเกิน 30 เดซิเบลถึงได้ยิน แสดงว่าหูตึง ถ้าต้องใช้เสียงดังมากถึงจะได้ยินแสดงว่าตึงมาก แต่ถ้าดังถึง 100 dB แล้วยังไม่ได้ยินแสดงว่าหูหนวก

ดาวน์โหลดแผ่นพับเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง

Image
Image
Image
Image
eartone-logo-bottom.png


ศูนย์บริการข้อมูลเครื่องช่วยฟัง

โทร 02-712-1177

02-713-6232

085-357-8777

ทดสอบการได้ยิน

hearing test icon 01

คุณหูตึงหรือไม่ เชิญทดสอบได้ฟรี โดยดาวน์โหลด Eartone App ใน iPhone หรือ Android (Samsung)

Search