• Email :
  • info@eartone.com

หลากหลายทางเลือก

เครื่องที่ช่วยให้คุณฟังชัดเจนขึ้น

เครื่องช่วยฟังคืออะใร

เครื่องช่วยฟังคือ เครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น ประกอบด้วย ไมโครโฟนเป็นตัวรับเสียง ตัวขยายเสียงให้ดังขึ้นคือแอมพลิฟายเออร์ และลำโพงเป็นตัวปล่อยเสียงออก ทำงานโดยอาศัยถ่านเครื่องช่วยฟังที่มีกำลัง 1.4 โวลต์ ขนาดเท่ากับถ่านนาฬิกา แต่ใช้แทนกันไม่ได้เพราะโวลต์ไม่เท่ากัน จะทำให้เครื่องเสียง่าย

เครื่องช่วยฟังแบ่งเป็น 3 แบบ

  1. แบบกล่อง
  2. แบบแขวนหลังหู
  3. แบบใส่ในช่องหู ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ 4 แบบ
    - แบบไมโครใส่ในช่องหู (IIC = Invisible in the Canal)
    - แบบจิ๋วใส่ในรูหู (CIC = Completely in the Canal)
    - แบบเล็กใส่ในช่องหู (ITC = In the Canal)
    - แบบใหญ่ใส่ในช่องหู (ITE = In the Ear)

ชนิดแขวนหลังหู

Image

ชนิดใส่ในช่องหู

Image

แบบกล่อง

Image

เครื่องช่วยฟังแบ่งตามเทคโนโลยี

แบบดิจิทัล
คือเครื่องช่วยฟังที่แอมพลิฟายเออร์เป็นไมโครชิพเหมือนชิพในคอมพิวเตอร์ สามารถที่จะโปรแกรมด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ จึงสามารถทำงานได้เร็วมาก เพียงหนึ่งในแสนวินาที และทำงานได้หลายรูปแบบตามที่ออกแบบ เช่น ให้ขยายเสียงที่เบาให้มากๆ ไม่ขยายเสียงที่ดังอยู่แล้ว เป็นต้น

แบบอนาล็อก
คือเครื่องช่วยฟังที่แอมพลิฟายเออร์เป็นแบบเก่า เปรียบเหมือนเครื่องโทรศัพท์มือถือแบบเก่าเมื่อ 4-5 ปีก่อน ข้อดีคือราคาไม่สูงมาก และเครื่องมีกำลังขยายสูงมากๆ ในปัจจุบันมีผู้ผลิตน้อยรายที่ผลิตเครื่องแบบนี้ เพราะต้นทุนในการผลิตยุ่งยากและตันทุนสูงกว่ามาก

ระบบการรับเสียงและขยายเสียงแบบธรรมชาติ

(Bionic Perception Processing)

เมื่อไมโครชิพเซตในเครื่องช่วยฟังได้รับเสียงจากไมโครโฟน จะวิเคราะห์เสียงที่ได้รับ แล้วเลือกขยายเสียงพูดให้ดังขึ้นด้วยวิธีจำแนกเสียง (Spatial Directionality & Speech Spotter Pro) แล้วขยายเสียงพูดให้ดังชัดเจนขึ้นแบบอัตโนมัติ (AutoSense OS) เช่น ในที่จอแจเครื่องจะเน้นขยายเสียงพูดให้ดังขึ้น ลดหรือตัดการขยายเสียงจอแจรอบข้าง และจะปรับทิศทางการรับเสียงไปทางผู้พูด (Auto Zoom) และยังปรับองศาการรับเสียงให้กว้างขึ้น รับได้สองคน หรือแคบลงเฉพาะคนเดียวได้ แม้มีเสียงก้อง เสียงสะท้อน เสียงซ่า หรือเสียงรบกวนรอบๆ เครื่องจะใช้ระบบ Sound Cleaning ตัดเสียงรบกวนออก เมื่อเสียงลมแรงจากอากาศเข้าเครื่องมาก เช่น ขณะขี่จักยานอยู่ริมชายหาด Wind Noise Block จะปรับลดเสียงรบกวนนี้

Image

เลือกเครื่องช่วยฟังตามแบบที่คุณต้องการ

  • เครื่องที่ดีที่สุดไม่จำกัดงบประมาณ ใช้ได้ทุกรุ่น เป็นผู้ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องการใช้กับอุปกรณ์สื่อสารทันสมัย Application ต้องการดูทีวีร่วมกับคนที่บ้าน ต้องเป็นรุ่นที่ต่อเชื่อมอุปกรณ์ระบบไร้สายได้ ราคาจะสูงกว่ารุ่นทั่วไป ใช้ประชุมบ่อยๆ ใช้ร่วมกับไมโครโฟนไร้สาย ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่ม
  • สิทธิ์เบิกสวัสดิการประกันสังคม สิทธิ์ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานต้นสังกัด รุ่นที่พอดีเบิก 12,000-13,500 บาทต่อข้าง มีทั้งแขวนหลังหูและใส่ในช่องหู
  • ถ้าต้องการเครื่องเล็กๆ ไม่เป็นที่สังเกตของคนอื่น ควรเป็นรุ่น IIC, CIC, ITC หรือ ITE เพราะสอดเข้าไปในรูหู สำหรับผู้ที่มีประสาทหูปานกลางคือ
    ไม่เกิน 50 เดซิเบล เสื่อมเล็กน้อย แนะนำใส่เครื่องในช่องหูขนาดจิ๋ว คือ IIC
    ไม่เกิน 70 เดซิเบล เสื่อมปานกลาง แนะนำใส่เครื่องในช่องหูขนาดจิ๋ว คือ CIC
    ถ้ามากถึง 80 เดซิเบล เสื่อมมาก แนะนำใส่เครื่องในช่องหูขนาดเล็ก คือ ITC (Canal)
    แต่ถ้ามากถึง 85 เดซิเบล เสื่อมรุนแรง แนะนำใส่เครื่องในช่องหูขนาดกลาง คือ ITE (Full Shell)

ถ้าไม่แน่ใจสอบถามและทดลองฟังที่คลินิกก่อนซื้อ

เครื่องควบคุมรีโมท (Remote control)

แม้ว่าเครื่องช่วยส่วนใหญ่จะมีปุ่มปรับเสียงดังค่อย แต่เครื่องขนาดจิ๋วใส่ในรูหู ถ้าใส่ปุ่มปรับแล้วจะทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเป็นที่สังเกตได้จากผู้อื่น เครื่องรีโมทที่มีขนาดเท่าพวงกุญแจรถยนต์ใช้ควบคุมเครื่องช่วยฟังได้อย่างดี เมื่อผู้ใช้ไม่ถูกใจระบบอัตโนมัติที่ตั้งไว้และต้องการที่จะควบคุมเครื่องเอง

ดาวน์โหลดแผ่นพับเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง

Image
Image
Image
Image
eartone-logo-bottom.png


ศูนย์บริการข้อมูลเครื่องช่วยฟัง

โทร 02-712-1177

02-713-6232

085-357-8777

ทดสอบการได้ยิน

hearing test icon 01

คุณหูตึงหรือไม่ เชิญทดสอบได้ฟรี โดยดาวน์โหลด Eartone App ใน iPhone หรือ Android (Samsung)

Search